เมนู

จริงอยู่

ในสรีระนี้ มีกาย 3 ส่วน

คือ
กายท่อนล่าง 1
กายท่อนกลาง 1
กายท่อนบน 1.
บรรดา 3 ส่วนเหล่านั้น กายในเบื้องต่ำแต่สะดือลงไป ชื่อว่า กาย
ท่อนล่าง
ในกายท่อนล่างนั้นมีรูป 4 รูป คือ กายทสกะ1 10 ภาวทสกะ 10
มีอาหารเป็นสมุฏฐาน 82 มีอุตุเป็นสมุฏฐาน 8 มีจิตเป็นสมุฏฐาน 8. กาย
เบื้องบนตั้งแต่สะเดาขึ้นไปถึงหลุมคอ ชื่อว่า กายท่อนกลาง ในกายท่อน
กลางนั้น มีรูป 54 รูปคือ กายทสกะ 10 ภาวทสกะ 10 วัตถุทสกะ 10
รูปทั้ง 3 มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ 8. กายเบื้องบนแต่
หลุมคอขึ้นไป ชื่อว่า กายท่อนบน. ในกายท่อนบนนั้นมีรูป 84 คือ จักขุ-
ทสกะ 10 โสตทสกะ 10 ฆานทสกะ 10 ชิวหาทสกะ 10 กายทสกะ 10
ภาวทสกะ 10 รูป 3 รูป มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นต้นอย่างละ 8.
บรรดารูปเหล่านั้น รูปที่ชื่อว่า จักขุทสกะ ด้วยสามารถแห่งนิปผันน-
รูป 10 เป็นรูปที่แยกจากกันแต่ละส่วนไม่ได้ นี้คือ มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัย
แก่จักขุประสาท วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ชีวิตินทรีย์ และจักขุประสาท.
รูปแม้ที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยนี้.
บรรดากาย 3 ส่วนนั้น รูปในกายท่อนล่างไม่ปะปนกับรูปกายท่อน
กลางและรูปกายท่อนบน รูปแม้ในกายที่เหลืออีก 2 ก็ไม่ปะปนกับรูปกาย
นอกนี้. เหมือนอย่างว่า เงาภูเขา และเงาต้นไม้ในเวลาเย็น ดุจเนื่องเป็น
1. กายทสกะ 10 คือ มหาภูตรูป 4 วรรณะ 1 คันธะ 1 รสะ 1 โอชา 1 ชีวิตรูป 1 กาย-
ประสาท 1.
2. อาหารสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ 8 ได้แก่ อวินิโภครูป 8 มีปฐวีเป็นต้น มีโอชาเป็นที่สด.

อันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มิได้ปะปนกันฉันใด ในกายแม้เหล่านั้น รูป 44
ก็ดี รูป 54 ก็ดี รูป 84 ก็ดี ก็ฉันนั้น เป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่
ก็ไม่ปะปนซึ่งกันและกันเลย ฉะนี้แล.

อรรถกถารูปายตนนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปายตนะต่อไป.
สี (วรรณะ) นั่นแหละ เรียกว่า วัณณนิภา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
นิภา เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งแสง อธิบายว่า ย่อมปรากฏแก่จักขุวิญญาณ
แสงคือสี ชื่อว่า วัณณนิภา. รูปที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ (คือเป็นสิ่งที่เห็นได้)
โดยเป็นไปพร้อมกับการเห็น อธิบายว่า พึงเห็นด้วยจักขุวิญญาณ. รูปที่ชื่อว่า
สัปปฏิฆะ (กระทบได้) โดยความเป็นไปพร้อมกับสิ่งที่กระทบถูกเข้า การ
ยังความเสียดสีให้เกิด.
บรรดาสีมีสีเขียวครามเป็นต้น สีเขียวเหมือนดอกสามหาว สีเหลือง
เหมือนดอกกรรณิการ์ สีแดงเหมือนดอกชบา สีขาวเหมือนดาวประกายพรึก
สีดำเหมือนถ่านเผา สีหงสบาท แดงเรื่อเหมือนย่างทรายและดอกยี่โถ. ก็ทอง
ตรัสเรียกว่า หริ ดุจในคำนี้ว่า หริตจสามวณฺณกามํ สุมุข ปกฺกม
(ดูก่อนสุมุขะผู้มีผิวพรรณงามดังทอง ท่านจงหนีไปตามปรารถนาเถิด) ดังนี้
ก็จริง ถึงอย่างนั้น ทองนั้นทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ชาตรูปะ ข้างหน้า แต่
ในนิทเทสนี้ ชื่อว่า หริ ได้แก่สีคล้ำ เพราะมิได้ทรงถือวัตถุทั้ง 7 เหล่านี้
แสดงโดยสภาวะนั่นเอง.
บทว่า หริวณฺณํ (สีเขียวใบไม้) คือสีเหมือนหญ้าแพรกสด. บทว่า
อมฺพงฺกุรวณฺณํ (สีม่วง) คือสีเหมือนหน่อมะม่วง. วัตถุทั้ง 2 เหล่านี้
ทรงถือเอาแสดงไว้โดยสภาวะ วัตถุ 12 มียาวและสิ้นเป็นต้น ทรงถือเอาแสดง